วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
ที่มา http://writer.dek-d.com/little_satan/story/viewlongc.php?id=260008&chapter=13
สภาพระบบสุริยะในปัจจุบัน
สภาพระบบสุริยะในปัจจุบัน
ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางแห่งความโน้มถ่วง ดึงดูดให้เหล่าสมาชิกโคจรอยู่โดยรอบ การศึกษาดาราศาสตร์ และอวกาศ ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการถ่ายภาพที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้น ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบวัตถุใหม่ในระบบสุริยะ ที่อยู่ไกลออกไปเพิ่มมากขึ้นด้วย จึงเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เคยมีมาแต่เดิม
ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ สมาพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (International Astronomical Union - IAU) เสนอให้แบ่งสมาชิก ในระบบสุริยะ เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มดาวเคราะห์ (Planets) มีแต่ ๘ ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน กลุ่มดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets) ได้แก่ พลูโต อีรีส และซีเรส นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มวัตถุขนาดเล็กจำพวกดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต โคจรอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะด้วยเมื่อมองจากด้านเหนือของระบบสุริยะ บรรดาเหล่าสมาชิกส่วนใหญ่หมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาไปในทางเดียวกัน ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มีวงโคจรค่อนข้างกลม และโคจรอยู่ในระนาบ ใกล้เคียงกับระนาบทางโคจรของโลก รอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเรียกว่า ระนาบสุริยวิถี (Ecliptic) ลักษณะเช่นนี้ น่าจะเป็นผลมาจาก การก่อกำเนิด และมีวิวัฒนาการมาจากมวลสารดั้งเดิม กลุ่มก้อนเดียวกัน
วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558
ระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึงที่โลกของ เราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง )
ที่มา http://thesunsk.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
กำเนิดระบบสุริยะ
กำเนิดระบบสุริยะ
ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวงอาทิตย์) เมื่อสสารมากขึ้น แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังภาพที่ 1 แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมากทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์
ดาราศาสตร์อิสลามกับคำภีอัลกรุอาน
วิชาดาราศาสตร์ (อิลมู-อัลฟาลัก) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปัฏิบัติศาสนากิจของชาวมุสลิม นับได้ว่าเป็นวิชาบังคับสำหรับสังคมมุสลิม (ฟารดูกีฟายะห์) ซึ่งการปัฏิบัติศาสนากิจของชาวมุสลิมในแต่ละวัน เช่นการละหมาด (ซอลัต) 5 เวลา ซึ่งการกำหนดเวลาละหมาด (ซอลัต) ของแต่ละเวลาล้วนต้องใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์มากำหนดเวลาละหมาด (ซอลัต) ของแต่ละวันแต่ละพื้นที วิชาดาราศาสตร์ (อิลมู-อัลฟาลัก) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่คำภีอัลกุรอานได้เรียกร้องให้ทำการศึกษาและเรียนรู้ระบบในจักรวาล เพื่อทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของจักรวาลและรู้ถึงความเร้นลับต่าง ๆ ของจักวาล และในคำภีกุรอานได้กล่าวถึงเหตุการทางทางดาราศาสตร์อยู่หลายโองการ เช่นโองการดังต่อไปนี้
ที่มา http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/1610-astronomy-quran
วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558
นาซาเผยภาพ"กาแล็กซี่เพื่อนบ้าน" คมชัด-ใหญ่ยักษ์สุดเท่าที่มนุษย์เคยถ่ายได้
วันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา หรือ นาซ่า ได้เผยแพร่ภาพถ่ายที่เรียกได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยถ่ายได้ เป็นภาพกาแล็กซี่แอนดรอมิดา(Andromeda) กาแล็กซี่เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้กาแล็กซี่ทางช้างเผือกที่โลกของเราสังกัดอยู่มากที่สุด (ประมาณ 2.5 ล้านปีแสง) ทั้งนี้ นาซาได้นำภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล จำนวน 411 ภาพมาต่อกัน ครอบคลุมดวงดาว 100 ล้านดวง ในระยะทาง 4.8 หมื่นปีแสง ซึ่งนี่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของกาแล็กซี่แอนดรอมิดาเท่านั้น แต่ก็ทำให้ได้ภาพขนาดมหึมาที่มีความละเอียด 1.5 พันล้านพิกเซล(69,536 X 22,230 พิกเซล) กินความจุด ฮาร์ดดิสก์ 4.3 กิกะไบต์ หรือเท่ากับดีวีภาพยนตร์ฮอลลิวูด 1 เรื่องเลยทีเดียว
นาซาเผยแพร่ภาพดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2558 และมีผู้นำมาโพสต์ในยูทิวบ์ในวันถัดมา มีผู้ชมคลิปดังกล่าวแล้วกว่า 4.3 ล้านครั้ง ในช่วงเวลา 2 สัปดาห์
ที่มา : http://www.manager.co.th/
ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก รอบรู้ดาราศาสตร์
ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก รอบรู้ดาราศาสตร์ ซึ่งเว็บแห่งนี้มีจุดประสงค์รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งได้แก่ จักรวาล ดวงดาว แกแลคซี่ ตลอดจนเทคโนโลยีด้านอวกาศที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)