วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ดาวศุกร์


ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 (ฉบับแก้ไข ลำดับที่ 4 และ ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ตามทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส และ ทฤษฎีของเคปเลอร์) ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด  สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀
ที่มา https://th.wikipedia.org

ดาวพฤหัสบดี


               ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุรได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์  ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก

ทีมา  https://th.wikipedia.org

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ดาวพลูโต

       

        ดาวพลูโต (อังกฤษ: Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระที่มีใหญ่ที่สุดรองจากอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตอาจจะเป็น[6]วัตถุที่ใหญ่ที่สุดในแถบไคเปอร์[f] และอาจจะเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนที่มีปริมาตรมากที่สุด มันเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่[7] และมีมวลประมาณ 1 ใน 6 ของดวงจันทร์ และมีปริมาตร 1 ใน 3 ของมันด้วย วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ซึ่งป้องกันไม่ให้ดาวเนปจูนและดาวพลูโตปะทะกัน ในปี พ.ศ. 2557 ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์ แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 5.5 ชั่วโมง ถึงจะไปถึงดาวพลูโตที่ระยะทางเฉลี่ย (39.4 หน่วยดาราศาสตร์)[8]
ที่มา https://th.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ดาวเนปจูน

          ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) หรือชื่อไทยว่า ดาวสมุทร[1] หรือ ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับการโคจรของดาวพลูโต ซึ่งบางครั้งจะเข้ามาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า แต่ปัจจุบันดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว) ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมัน (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆)

ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก

ที่มา https://th.wikipedia.org/

ดาวเสาร์

        

        ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบสุริยะรองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ ♄

       ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก

ที่มา: https://th.wikipedia.org

ดาวพุธ



       ดาวพุธ  เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้นดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน

ทีมา: https://th.wikipedia.org

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ดาวอังคาร

     ดาวอังคาร            

(อังกฤษ: Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ[15] ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่[16][17] ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้[18][19] คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา




นักดาราศาสตร์ที่ควรรู้จัก

   เอ็ดวิน ฮับเบิล ( ค.ศ. 1889-1953 )
ผู้บุกเบิกการศึกษาเรื่องกาแล็กซี่และเสนอทฤษฎีว่าด้วยเอกภพขยายตัว
จากการสังเกตกาแล็กซีทั้งหลายกำลังเคลื่อนที่หนีห่างจากกันและกัน










ที่มา https://www.facebook.com/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-394119710688822/

กลุ่มดาวลูกไก่ (PLEIADES)

                                                            กลุ่มดาวลูกไก่ (PLEIADES)







กลุ่มดาวลูกไก่อยู่ใกล้ ๆ ดาวธง ฝรั่งเขานับได้ 7 ดวง จึงตั้งชื่อกลุ่มดาวกลุ่มนี้ว่า “Seven Sisters” มีเพลงไทยชื่อ เพลงแหล่ดาวลูกไก่ กล่าวอ้างว่ามีเรื่องราวอยู่ ในชาดก ลูกไก่เจ็ดตัว กระโดดเข้ากองไฟตายพร้อมกันเพื่อแม่ ซึ่งได้สละชีวิต เพื่อการทำบุญของเจ้าของ  กลุ่มดาวลูกไก่อยู่ในกลุ่มดาววัว ตามภาพจะเห็นได้ว่า ดาวลูกไก่, ดาวธง, ดาวไถ, ดาวเต่าอยู่ใกล้เคียงกัน  กลุ่มดาวลูกไก่ เป็นกลุ่มดาวที่ใช้ทดสอบ สายตาของคนได้เป็นอย่างดี เพราะถ้า คนทั่วไปจะเห็นเพียง 6 ดวง แต่ถ้าผู้ชำนาญดูบ่อย ๆนับดูจะได้ 7 ดวงหรือกว่า ดาวกลุ่มนี้ตามความเป็นจริงไม่ได้มีแต่เพียง 7 ดวง มีหลายร้อยดวงเป็น “กระจุกดาว” ถ้ามีกล้อง 2 ตาหรือกล้องโทรทรรศน์ส่องดูดวงกลุ่มนี้ จะเห็นเป็น กระจุกดาวที่สวยงามที่สุดในท้องฟ้ากระจุกหนึ่ง

ที่มา http://phuketindex.com/travel/photo-stories/other/s-star/pleiades.htm

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องจากสนพระทัยเรื่องของวิทยาศาสตร์ เรขาคณิต ตรีโกณมิติ โดยเฉพาะดาราศาสตร์เป็นพิเศษ โดยพระองค์ทรงคำนวณปฏิทินจันทรคติแบบใหม่ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง ซึ่งมีความแม่นยำถูกต้องตรงกับดวงจันทร์บนท้องฟ้ายิ่งกว่าปฏิทินที่ใช้อยู่เดิม และยังทรงคำนวณการเกิดปรากฎการณ์สุริยปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้ล่วงหน้าถึง 2 ปีอย่างแม่นยำ และในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำ ว่าเป็น "King of Siam's Eclipse


ที่มา http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/479/24479/images/rattana_kingrama4_1.jpg

อุกาบาตที่ไทย


อุกาบาตที่ไทย
ที่มาwww.youtube.com/watch?v=Ls1cfDPDGDI

ดาวตก





ดาวตกเกิดจากสะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อย เคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมากเรียกว่าลูกไฟ (fireball) หากระเบิดเรียกว่าดาวตกชนิดระเบิด (bolide) บางครั้งก่อให้เกิดเสียงดัง






ที่มาhttps://www.google.co.t้h

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

ระบบสุริยะ



ระบบสุริยะ


ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง




ที่มา http://writer.dek-d.com/little_satan/story/viewlongc.php?id=260008&chapter=13

สภาพระบบสุริยะในปัจจุบัน





                  สภาพระบบสุริยะในปัจจุบัน

      ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางแห่งความโน้มถ่วง ดึงดูดให้เหล่าสมาชิกโคจรอยู่โดยรอบ การศึกษาดาราศาสตร์ และอวกาศ ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการถ่ายภาพที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้น ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบวัตถุใหม่ในระบบสุริยะ ที่อยู่ไกลออกไปเพิ่มมากขึ้นด้วย จึงเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เคยมีมาแต่เดิม




ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ สมาพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (International Astronomical Union - IAU) เสนอให้แบ่งสมาชิก ในระบบสุริยะ เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มดาวเคราะห์ (Planets) มีแต่ ๘ ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน กลุ่มดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets) ได้แก่ พลูโต อีรีส และซีเรส นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มวัตถุขนาดเล็กจำพวกดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต โคจรอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะด้วยเมื่อมองจากด้านเหนือของระบบสุริยะ บรรดาเหล่าสมาชิกส่วนใหญ่หมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาไปในทางเดียวกัน ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มีวงโคจรค่อนข้างกลม และโคจรอยู่ในระนาบ ใกล้เคียงกับระนาบทางโคจรของโลก รอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเรียกว่า ระนาบสุริยวิถี (Ecliptic) ลักษณะเช่นนี้ น่าจะเป็นผลมาจาก การก่อกำเนิด และมีวิวัฒนาการมาจากมวลสารดั้งเดิม กลุ่มก้อนเดียวกัน

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

    ระบบสุริยะจักรวาล 

ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึงที่โลกของ เราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง )


ที่มา http://thesunsk.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

กำเนิดระบบสุริยะ



    กำเนิดระบบสุริยะ

ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวงอาทิตย์) เมื่อสสารมากขึ้น แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังภาพที่ 1 แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมากทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์




    ดาราศาสตร์อิสลามกับคำภีอัลกรุอาน

วิชาดาราศาสตร์ (อิลมู-อัลฟาลัก) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปัฏิบัติศาสนากิจของชาวมุสลิม นับได้ว่าเป็นวิชาบังคับสำหรับสังคมมุสลิม (ฟารดูกีฟายะห์) ซึ่งการปัฏิบัติศาสนากิจของชาวมุสลิมในแต่ละวัน เช่นการละหมาด (ซอลัต) 5 เวลา ซึ่งการกำหนดเวลาละหมาด (ซอลัต) ของแต่ละเวลาล้วนต้องใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์มากำหนดเวลาละหมาด (ซอลัต) ของแต่ละวันแต่ละพื้นที วิชาดาราศาสตร์ (อิลมู-อัลฟาลัก) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่คำภีอัลกุรอานได้เรียกร้องให้ทำการศึกษาและเรียนรู้ระบบในจักรวาล เพื่อทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของจักรวาลและรู้ถึงความเร้นลับต่าง ๆ ของจักวาล และในคำภีกุรอานได้กล่าวถึงเหตุการทางทางดาราศาสตร์อยู่หลายโองการ เช่นโองการดังต่อไปนี้


ที่มา http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/1610-astronomy-quran

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

นาซาเผยภาพ"กาแล็กซี่เพื่อนบ้าน" คมชัด-ใหญ่ยักษ์สุดเท่าที่มนุษย์เคยถ่ายได้





       วันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา หรือ นาซ่า ได้เผยแพร่ภาพถ่ายที่เรียกได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยถ่ายได้ เป็นภาพกาแล็กซี่แอนดรอมิดา(Andromeda) กาแล็กซี่เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้กาแล็กซี่ทางช้างเผือกที่โลกของเราสังกัดอยู่มากที่สุด (ประมาณ 2.5 ล้านปีแสง) ทั้งนี้ นาซาได้นำภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล จำนวน 411 ภาพมาต่อกัน ครอบคลุมดวงดาว 100 ล้านดวง ในระยะทาง 4.8 หมื่นปีแสง ซึ่งนี่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของกาแล็กซี่แอนดรอมิดาเท่านั้น แต่ก็ทำให้ได้ภาพขนาดมหึมาที่มีความละเอียด 1.5 พันล้านพิกเซล(69,536 X 22,230 พิกเซล) กินความจุด ฮาร์ดดิสก์ 4.3 กิกะไบต์ หรือเท่ากับดีวีภาพยนตร์ฮอลลิวูด 1 เรื่องเลยทีเดียว

       นาซาเผยแพร่ภาพดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2558 และมีผู้นำมาโพสต์ในยูทิวบ์ในวันถัดมา มีผู้ชมคลิปดังกล่าวแล้วกว่า 4.3 ล้านครั้ง ในช่วงเวลา 2 สัปดาห์

 ที่มา : http://www.manager.co.th/

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก รอบรู้ดาราศาสตร์

ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก รอบรู้ดาราศาสตร์ ซึ่งเว็บแห่งนี้มีจุดประสงค์รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งได้แก่ จักรวาล ดวงดาว แกแลคซี่ ตลอดจนเทคโนโลยีด้านอวกาศที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาครับ