ดาวพลูโต (
อังกฤษ: Pluto;
ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็น
ดาวเคราะห์แคระที่มีใหญ่ที่สุดรองจาก
อีริส ซึ่งเป็นวัตถุใน
แถบหินกระจาย ดาวพลูโตอาจจะเป็น
[6]วัตถุที่ใหญ่ที่สุดใน
แถบไคเปอร์[f] และอาจจะเป็น
วัตถุพ้นดาวเนปจูนที่มีปริมาตรมากที่สุด มันเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 10 ใน
ระบบสุริยะที่โคจรรอบ
ดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่
[7] และมีมวลประมาณ 1 ใน 6 ของ
ดวงจันทร์ และมีปริมาตร 1 ใน 3 ของมันด้วย วงโคจรของดาวพลูโตมี
ความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49
หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วย
การสั่นพ้องของวงโคจร ซึ่งป้องกันไม่ให้ดาวเนปจูนและดาวพลูโตปะทะกัน ในปี พ.ศ. 2557 ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์ แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 5.5 ชั่วโมง ถึงจะไปถึงดาวพลูโตที่ระยะทางเฉลี่ย (39.4 หน่วยดาราศาสตร์)
[8]
ที่มา https://th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น